วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยี 4G

4G

อนาคตอันใกล้ สุดยอดความเร็วของเทคโนโลยีไร้สาย

   4G หมายถึง 4th Generation (Forth Generation) คือพัฒนาต่อมาจาก 3G แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า สี่  เป็นการสื่อสารไร้สายที่สมบูรณ์แบบมากๆ ถ้าสามารถติดตั้งได้ เพราะปัจจุบัน ค่าอุปกรณ์ยังถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ แค่ 3G ในบ้านเรา ยังต้องรอให้สมบูรณ์มากกว่านี้เลย ดังนั้นความหวังในเรื่อง 4G คงต้องรออีกนาน (แต่ก็แอบหวังนิดๆ เหมือนกัน)
ว่ากันว่า ความเร็ว 4G สามารถทได้ถึง 20-40 mbps เลยทีเดียว

โลกการสื่อสารไร้สาย จะเปลี่ยนไป เมื่อใช้ 4G

การสื่อสาร 3G ที่ยังไม่สมบูรณ์แต่ก็เร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็ยังรู้สึกว่า มีความหวังอยู่บ้างพอสมควร แต่ถ้าสามารถติดตั้งเทคโนโลยี 4G ได้จริง การสื่อสารจากเดิมจากภาพ ข้อความ จะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของวีดีโอ และภาพ 3 มิติได้อย่างสมบูรณ์แบบเป็นแน่แท้ ซึ่งถ้าดูจากความเร็ว อนาคต Wi-fi คงต้องอาจมีอันจบสิ้นกันไปเลย คุณเห็นด้วยหรือไม่
ปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2555) เทคโนโลยี 4G มี 2 ค่ายยักษ์ใหญ่กำลังพัฒนาคือ บริษัทเอทีแอนด์ที  และบริษัทเวริซอน พัฒนา LTE ส่วน Wi-Max  พัฒนาโดย บริษัทสปริ้นท์  ซึ่งเป็นคนละเทคโนโลยีกันเลย
แต่เราคงไม่ต้องรอกันนานนัก ที่จะได้เห็นรูปแบบเต็มๆ ของ เทคโนโลยี 4G เพราะปัจจุบันเจ้าของค่ายโทรศัพท์มือถือก็เริ่มมีการออกโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งาน 4G กันบ้างแล้ว

สรุป เทคโนโลยี 4G

  • รองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ประมาณ 20-40 mbps  (บางข้อมูลก็แจ้งว่า สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 100 mbps /50 mpbs เลยทีเดียว)
  • รองรับการสื่อสารในรูปแบบวีดีโอ และภาพ 3 มิติ


ตัวอย่างวิดีโอที่แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับ 4G .ในประเทศไทย

ประเทศไทยเข้าสู่ระบบ 4G LTE [LONG TERM EVOLUTION]



เทคโนโลยี 3G

 3G

เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร
ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น

สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+

HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps
HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้

คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 และ 2100 จะถูกพัฒนาโดย TOT

ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น






ตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับระบบ 3G
รายการวันละนิดวิทย์เทคโน โดย สวทช. ตอน เทคโนโลยี 3G คืออะไร




เทคโนโลยี 2G

   2G

    ยุค 2G ก็คือยุคที่โทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนเป็นระบบ Digital คือ ก่อนหน้านี้ถ้าใครเกิดทันเมื่อ เกือบ 20 ปีที่แล้ว ประมาณยุคโทรศัพท์ รุ่นกระติกน้ำ ใหญ่มาก ๆ จะเป็นโทรศัพท์แบบยุคที่ 1 คือ ยังไม่ได้เป็นระบบดิจิตอล ตอนนั้น ใครโทรมาก็จะไม่เห็นเบอร์ ส่ง SMS ก็ไม่ได้ พูดง่าย ๆ เหมือนโทรศัพท์บ้านพื้น ๆ คือโทรศัพท์ได้อย่างเดียว ภาษาของคนขายเขาเรียก Voice Service คือบริการด้านเสียงอย่างเดียว และแล้ววันดี คืนดีผู้ให้บริการต่าง ๆ ก็มีการประกาศกันว่า "มันมาแล้วนะยุค Digital GSM ฯลฯ" หมดงบโปรโมทกันไปมากมาย ซึ่งก็คือจุดเริ่มก้าวเข้าสู่ยุค 2G ในบ้านเรา บริการที่เด่น ๆ ให้คนเห็นภาพ ก็คือการ “โทรโชว์เบอร์” คือเห็นเบอร์คนที่โทรเข้ามาหาเรา แหมก็ชอบกันน่ะสิ และ การส่ง "SMS” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริการที่ต้องใช้เวลาในการให้ความรู้ แต่ก็เป็นก้าวแรกที่ทำให้คนหันมาใช้โทรศัพท์ดิจิตอลยุค 2G กันอย่างล้นหลาม มีคนเล่าว่า ครั้งนึงมีใครเขาเอา SMS ไปเปรียบเทียบกับการส่ง โทรเลขด้วยนะ ซึ่งแปลกมากที่ตอนนั้นเขาว่ากันว่า คนส่งโทรเลขชนะ แต่สุดท้าย บริการโทรเลขของบ้านเรา ก็เพิ่งจะปิดตัวไปอย่างเป็นทางการ และถาวร เพราะค่าบำรุงรักษาระบบแพงมาก และแทบจะไม่มีใครไปใช้บริการเลย เพราะเขาส่งด้วย SMS กันหมดแล้ว

ทั่วไปแล้วบริการของโทรศัพท์มือถือเขาจะแบ่งประเภทของบริการหลัก ๆ เป็น 2 แบบคือ
แบบ 1.Voice คือ โทรคุยกันธรรมดานั้นแหละค่ะ
แบบ 2.Non-Voice คือ “บริการที่ไม่เกี่ยวกับเสียง”
เช่น การโชว์เบอร์เรียกเข้า ก็ถือได้ว่าเป็นบริการแบบไม่ใช่เสียง เนื่องจาก เบอร์ที่ส่งไปให้ยังปลายทาง ถูกส่งไปในลักษณะของข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งก็เป็นวิธีการส่งคล้าย ๆ กับบริการ SMS ทั้งคู่เลยอยู่ในบริการกลุ่ม Non-Voice

บริการ 1G ต่างกับ 2G ตรงนี้แหละค่ะ และด้วยความนิยมใน Non-Voice สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าลำพังแค่บริการ SMS ก็สร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการทางโทรศัพท์อย่างมหาศาลแล้ว คงนึกภาพกันออกอย่างเช่น เรียลิตี้โชว์ด้ง ๆ เวลา Vote ผ่าน SMS กันแต่ละที อีกทั้งเวลาส่งข้อความวันปีใหม่ หรือ เทศกาลต่าง ๆ ผู้ให้บริการยิ่งชอบเลย

ต่อมานักเทคโนโลยีก็ไอเดียบรรเจิด เมื่อมีการส่งข้อมูลเพียงแค่ SMS แล้วคนนิยมมาก ก็น่าจะเพิ่มการส่งข้อมูลอื่นได้ด้วยแบบเช่น ภาพ หรือ ไฟล์ต่าง ๆ จึงได้พัฒนาเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลออกมาเป็นมาตราฐาน GPRS - General Packet Radio Service ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ไม่เกิน 114 Kbps ซึ่งจริง ๆ ส่วนใหญ่ก็ได้ไม่ถึงหรอกค่ะ ที่ทำได้ ๆ กัน ก็แค่ 50 - 80 Kbps เท่านั้น ซึ่งก็คงแล้วแต่สภาพแวดล้อมทั้งหมด ดิน ฟ้า อากาศ และความหนาแน่นของช่องสัญญาณในขณะนั้นด้วย แต่นั้นก็เร็วมากพอที่จะส่ง ภาพ หรือ พวกไฟล์ต่าง ๆ ทางมือถือหรือ MMS กันได้แล้ว และประกอบกับยุคนั้น โทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง ก็มาเปิดตลาดให้สอดคล้องกันพอดี และด้วยความเร็วระดับ GPRS ในยุค 2.5G ก็พอสำหรับที่จะทำให้ BB ขายกันเทน้ำเทท่า เพราะ BB Messenger บริการยอดนิยม ความเร็วระดับ GPRS ก็เหลือเฟือแล้วค่ะเพราะ เป็นการส่งตัวหนังสือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งใช้ความเร็วไม่สูงนัก

เทคโนโลยี 1G

 

1G

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือรุ่นแรก

   ปัจจุบันคงได้ยินคนพูดถึง 3G กันมาก แต่วันนี้จะขอกล่าวเทคโนโลยีเริ่มต้นในระบบโทรศัพท์กันก่อน นั่นคือเทคโนโลยี 1G หรือ ย่อมาจากคำว่า 1st Generation (First Generation) การใช้งานเทคโนโลยีนี้ เริ่มแรก เราไม่ได้มีการพูดถึงคำว่า 1G กันเท่าไหร่ เพราะประมาณว่ายังไม่มีการพูดถึงในเทคโนโลยีในอนาคต (2G, 3G หรือ 4G) นั่นเอง
คุณอยู่ในยุคของ 1G หรือเปล่า



1G หรือ First Generation

คือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบอนาล็อก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการบริการด้านเสียง เท่านั้น แถมยังมีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพเสียง คุณภาพของเครือข่าย  เทคโนโลยี 1G มีการเริ่มใช้งานประมาณปี ค.ศ. 1980 สำหรับระบบของโทรศัพท์ที่ใช้ของ 1G ก็คือ ระบบ APMS หรือย่อมาจากคำว่า Advanced Mobile Phone Service